วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การติดต่อสื่อสาร


การสื่อสาร
วิวัฒนาการของการสื่อสาร
วิวัฒนาการและการพัฒนาต่างๆของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอดีต
ในปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆ น่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิราบ หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว ต่อ มาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้  ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน  ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้  ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิราบ        เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยี ใหม่  โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย   มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร  ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า  และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ    แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษร ตัวใด  การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส   รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว  ซึ่งจะแทนด้วย  .  กับ  -   ( จุด  กับ ขีด ) จุด เกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ  ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า      มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็น รหัสสัญญาณโทรเลขของตัวอักษรต่างๆขึ้นมา 
 
ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น -ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลข และในการส่งโทรเลข เจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะ สามารถส่งโทรเลขได้






ต่อมาได้มีการนำเอารหัสมอร์สนี้มาประยุกต์ใช้ในการส่งสัญญาณไฟ  โดยการเปิด-ปิดไฟเป็นจังหวะสั้น- ยาว  สลับกันไป  ถ้าเปิดไฟนาน  แสงจากดวงไฟจะเรียกว่าแสงวาบ  ถ้าเปิดไฟในช่วงเวลาสั้นๆ แสงไฟจะเรียกว่าแสงวับ

  

     ต่อ มา เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็น อย่างมาก และใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคน เครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลข แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส
  
      ถ้าถามว่าการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สในปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ ท่านผู้อ่านคิดว่า ( มี อาจะมี ไม่มี ) ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่มี ผิดครับ !! ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สก็ยังมีการใช้อย ู่ ตัวอย่างเช่นในทางทหารยังมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้รหัสมอร์ส หรือสัญญาณไฟ เนื่องจากในยามฉุกเฉินหรือในยามสงคราม การสื่อสารในระบบอื่นๆอาจถูกตัดขาด การสื่อสารทางสัญญาณไฟหรือสัญญาณมอร์สก็จะถูกนำมาใช้แทนได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ถ้ามีการสื่อสารหลายรูปแบบย่อมจะดีกว่าที่จะมีการสื่อสารรูปแบบเดียว จากพัฒนาการของการสื่อสารจะสังเกตเห็นว่าการสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส ก็พัฒนามาจากการสื่อสารด้วยสัญญาณควันหรือสัญญาณการตีเกราะเคาะไม้นั่นเอง แม้ว่าโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมากเพราะว่าส่งปั๊บก็ถึงปุ๊บ แต่การส่งโทรเลขก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นการส่งตัวอักษรทีละตัว และบ่อยครั้งที่ผู้รับแปลรหัสผิดและเกิดผลเสียหาย
    ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้  อเล็กซานเดอร์  เกรแฮม  เบลล์ (Alexander  Graham Bel)  จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมา  และโทรศัพท์จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์    แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม   และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน  





ใน ตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ     ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก     แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด  เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก   คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้    หรือไปเที่ยว ป่า เขา ทะเล  ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้   ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง    จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น    แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่า โทรศัพท์มือถือ ”   ชื่อนี้เมื่อชาวต่างประเทศได้ยิน  คงแปลกใจว่า  แล้วโทรศัพท์แบบอื่นคนไทยใช้อะไรถือ  ?  โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็พัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ  ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน
 
      วิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ  ทหารและอาสาสมัครใช้  ไม่สามารถส่งและรับพร้อมกันได้  ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันตอนจบข้อความจะต้องมีคำลงท้ายว่าเปลี่ยน “  คำ ว่า  เปลี่ยน  หมายความว่าให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนพูดบ้าง  และวิทยุโทรศัพท์แบบนี้จะมีศูนย์กลางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดสัญญาณไปยัง เครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง
 
      การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น(ไม่ได้หมายความว่าคนในปัจจุบันมีความสุขมากขึ้น) ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุม กันได้  โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกัน

และในการประชุมก็ไม่ต้องมี เอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน  เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึง ข้อมูลออกมาได้ทันที
 เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันเราก็สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลก โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์  นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทาง อินเตอร์เน็ตได้
      จากวิวัฒนาการของการสื่อสารที่มีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว    ไม่รู้ว่าในอนาคตของการสื่อสารจะพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้โทรจิตติดต่อกัน หรือไม่    และปัจจุบันมีรายงานการวิจัยออกมาว่า  เราสามารถทำการทดลองเพื่อทำนายความคิดของผู้ถูกทดลองได้   แต่รายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อะไร    เพราะว่าในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถรู้ความคิดของคนได้โดยการมองดวงตา  เนื่องจากใครๆก็รู้ว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ   และเชื่อว่าในอนาคตก็อาจจะมีคนประดิษฐ์โทรจิตก็เป็นได้ 




และหวังว่าคนที่ ประดิษฐ์โทรจิตได้เป็นคนแรกน่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี    และผู้เขียนอยากจะบอกท่านผู้อ่านและนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ว่า   ” คำว่าเป็นไปไม่ได้ “     ไม่ควรจะนำมาใช้บ่อยนัก  เพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นหรือที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้    ก็เคยเป็นสิ่งที่ในสมัยก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้   ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น  ในสมัยก่อนพูดถึงขอมดำดินก็คงไม่มีใครคิดว่าคนไทยจะสามารถดำดินได้เหมือนขอม     แต่ในปัจจุบันคนไทยก็สามารถดำดินไปโผล่ในที่ต่างๆได้แล้ว  หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถคุยคนทุกมุมโลกโลกได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้อง เดินทางไปไหนเลย


ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร
   ในอดีตเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาด้านภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ จากการติดต่อสื่อสารกันในระหว่างกลุ่มชุมชนเดียวกัน ก็มีการติดต่อสื่อสารข้ามกลุ่มข้ามชุมชน มีการพัฒนาวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ดังที่นักเรียนอาจจะเคยทราบมาบ้างแล้ว เช่น การสื่อสารโดยใช้นกพิราบ การใช้ม้าเร็วในการติดต่อสื่อสาร การใช้สัญญาณเสียงด้วยการตีกลอง หรือตีเกราะเคาะไม้ การส่งสัญญาณควันไฟ เป็นต้น จากนั้นก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ตามความต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสารที่สำคัญ
1.ผู้ส่งข้อมูล (Sender) คือสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังจุดหมายที่ต้องการ
ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือสารสนเทศที่ถูกส่งมาจากผู้ส่ง
3.ข้อมูลหรือสารสนเทศ (Data or Information) คือข้อมูลหรือสารสนเทศที่ผู้ส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้รับข้อมูลหรือสารสนเทศ ข้อมูลหรือสารสนเทศอยูในรูปแบบของข้อความ  เสียง  ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ
4.สื่อนำข้อมูล (Medium)  คือสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากผู้ส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้รับข้อมูลหรือสารสนเทศ  เช่น สายเคเบิล (Cable) สายใยแก้วนำแสง (Fiber- Optic Cable) อากาศ (Weather) ดาวเทียม (Satellite) คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นต้น

 ถ้าจะแบ่งการสื่อสารของมนุษย์ ตามลักษณะการส่งข้อมูล ออกเป็นหัวข้อเราจะแบ่งได้ดังนี้
1. การสื่อสารด้วยรหัส  การสื่อสารด้วยข้อความตัวอักษรจะมีปัญหาในส่วนที่ผู้อื่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ง่าย โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับ เช่น ข้อมูลด้านการทหาร จึงมีการพัฒนาสร้างรหัสเฉพาะเพื่อรับรู้กันเฉพาะผู้รับและผู้ส่ง เมื่อ ปี พ.ศ. 2379 แซมวล มอร์ส (Samuel Morse) ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถส่งรหัสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยคลื่นวิทยุ เรียกว่ารหัสมอร์ส ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุดและขีดเป็นสัญลักษณ์ในการส่งวิทยุ ทำให้เกิดการพัฒนาการสื่อสารในระยะไกล และในนำไปใช้ในกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ นอกจากนี้รหัสมอร์สยังใช้ในการสื่อสารด้วยโทรเลขเป็นระยะเวลานาน


2.การสื่อสารด้วยสายตัวนำ ในปี พ.ศ. 2419  อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียงผ่านทางสายตัวนำทองแดง เริ่มต้นใช้การสลับสายด้วยคน ต่อมาใช้ระบบการสลับสายแบบอัตโนมัติ หลังจากนั้นก็ได้คิดค้นการส่งสัญญาณเสียงผ่านทางใยแก้ว แต่ก็พบว่าการใช้สายลวดทองแดงเป็นตัวกลางนั้นสะดวกกว่า  และตั้งแต่นั้นมาการขยายตัวของระบบโทรศัพท์ ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย เครือข่ายโทรศัพท์ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง แต่การทดลองการส่งสัญญาณผ่านใยแก้วของเบล ก็ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติกจนเกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญทำให้มนุษย์สามารถส่งผ่านข้อมูล วิดีโอ และเสียง ในรูปของแสงผ่านใยแก้วแทนที่จะใช้อิเล็กตรอนผ่านลวดทองแดง และด้วยเทคโนโลยีไฟเบอร์ ออปติกล่าสุด ปัจจุบันไฟเบอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ สามารถเป็นตัวกลางในการส่งโทรศัพท์ อี-เมล์ และเว็บเพจ ได้เช่นเดียวกับระบบโทรศัพท์ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ปัจจุบันโครงข่ายตัวนำที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ เป็นโครงข่ายดิจิตอล จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลสามารถใช้ร่วมกับแบบอื่นได้










3.การสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล  เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวก  รวดเร็ว  ทันต่อเวลาและได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ คือการรับ-ส่ง โอน-ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ผ่านสื่อนำข้อมูลต่าง ๆส่วนการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเทคโนโลยีให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงเป็นวิธีการหนึ่งและกำลังได้รับความนิยมสูงมาก โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกและมีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล การสืบค้นและเรียกดูข่าวผ่านระบบเว็บ การพูดคุย และส่งข้อความถึงกัน เป็นต้น 

4. การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม  ดาวเทียมคืออุปกรณ์สื่อสารที่ส่งให้โคจรรอบโลก การเคลื่อนที่ของดาวเทียมที่เคลื่อนไปพร้อมกับการหมุนของโลกในรอบการหมุนที่เท่ากัน ดาวเทียมจึงจะอยู่ในตำแหน่งที่คงที่ตามที่กำหนดไว้ การสื่อสารผ่านดาวเทียมก็คือการส่งสัญญาณข้อมูลมาที่ดาวเทียมและสั่งให้อุปกรณ์สื่อสารในดาวเทียมส่งข้อมูลลงมายังโลกอีกต่อหนึ่ง จากนั้นบนพื้นโลกก็รับสัญญาณข้อมูลโดยสัญญาณข้อมูลจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและการส่งจากที่สูงจะทำให้จุดรับสัญญาณข้อมูลในพื้นที่ที่ไม่สามารถติดตั้งสายได้ เช่น แนวเขาบังสัญญาณ หรือเกาะที่อยู่กลางทะเล สามารถรับสัญญาณข้อมูลได้โดยสะดวก


5.   การสื่อสารด้วยระบบไร้สาย การสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความสะดวก คล่องตัว การสื่อสารแบบนี้ใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ โดยผู้ใช้จะติดต่อกับศูนย์กลางสถานีรับส่ง การสื่อสารวิธีนี้มีการวางเป็นเซลครอบพื้นที่ต่างๆ ไว้ จึงเรียกระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบนี้ว่า เซลลูลาร์โฟน (cellular phone)  ปัจจุบันการพัฒนาการด้านการสื่อสารด้วยระบบไร้สายก้าวหน้าไปไกลมาก เช่น โทรศัพท์ไร้สาย สามารถรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล์ ส่งข้อความ ส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ทำให้ขณะที่ติดต่อสื่อสารกันสามารถเห็นหน้ากันได้

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
        การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบัน เป็นการรวมนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารหลายๆเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบ การสื่อสารด้วยรหัส  การสื่อสารด้วยสายตัวนำ การสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม ดังตัวอย่างเช่น ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการนำเอาการสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ มาใช้ร่วมกับการสื่อสารผ่านระบบโทรคมนาคมด้านโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการสื่อสารในระบบสารตัวนำ และถ้าเป็นบริเวณที่ไม่สามารถวางสายตัวนำได้ก็จะใช้ระบบดาวเทียม นอกจากนี้ในระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีการนำมาใช้ในการทำธุรกรรมด้านการเงิน เช่น การสั่งซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยรหัสเพื่อป้องกันข้อมูลให้เป็นความลับ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

      เมื่อเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้งาน คอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเป็นแบบเครื่องเดี่ยว ต่อมาได้มีการพัฒนาอุปกรณ์การสื่อสารและพัฒนาโปรแกรมเกียวกับการสื่อสารคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น  มีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือช่วยกันในการประมวลผลสารสนเทศ ต่อมาก็นำมาพัฒนาเป็นการติดต่อสื่อสาร  แลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารจนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

     การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้

     ระบบเครือข่ายมีประโยชน์ต่อระบบข้อมูลสารสนเทศมาก คือ มีการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน มีการนำข้อมูล มาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ เช่นเครื่องพิมพ์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
      ในปัจจุบันองค์กร หน่วยงานต่างๆ แม้แต่หน่วยงานทางการศึกษา อย่างโรงเรียน ก็มีการนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานของตนเอง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนปากท่อพิทยาคมใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโรงเรียนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โดยเน้นการใช้งานด้านการศึกษาการเรียนรู้ของนักเรียน และใช้งานด้านระบบงานทะเบียนวัดผล ระบบงานกิจการนักเรียน ระบบงานห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนยังได้เชื่อมโยงกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอกโรงเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก